mercredi 26 décembre 2012

 

 

Tradition et Culture

1. Tradition pour célébrer le Nouvel An. La Célébration du Nouvel An des Hmong est connue sous le nom de  “ Nor  Pe Jol“  qui signifie prendre trente.   Les  Hmong fêtent le dernier jour de décembre à savoir le 30  (jour du calendrier lunaire) chaque année comme le jour pour dire au revoir à  l’année écoulée.  La fête pour célébrer le Nouvel An tombe autour de la fin novembre jusqu’en décembre.  Les Hmong  effectuent  différents rituels.   Il s’agit de célébrer le Nouvel An pendant trois jours pour dire au revoir  à  l’année passée.  Tout le monde s’arrête de travailler ces trois premiers jours.  Tous les hommes et femmes du village portent de nouveaux vêtements.  Les jeunes gens notamment sont tout habillés, ornés  avec de beaux bijoux en argent.   Les enfants se regroupent pour danser et chanter joyeusement.  Au moment de la tombée de la nuit, ils se chantent rencontrent, discutent tous ensemble.

2. Tradition de la Naissance. A la naissance d’un garçon, le placenta sera enterré près de la maison aux esprits des ancêtres. Si c’est une fille, le placenta est enterré  sous le lit dans la chambre des parents de l’enfant.  Après trois jours, il y a une cérémonie pour déterminer ce nom de l’enfant.   Après la naissance, il est nécessaire de manger du riz avec du poulet ou des œufs pendant 30 jours.  La maison de la naissance de l’enfant sera marquée par des branches fraîches fixées à la porte.   Ceci indique que les personnes extérieures  ne sont pas autorisées à entrer.

 

 

 

ประเพณีและวัฒนธรรม

    ชาวเขาเผ่าม้งหรือม้งมีประเพณีและวัฒนธรรมตลอดทั้งความเชื่อ เป็นของตนเองสืบมาแต่บรรพบุรุษ ซึ่งในปัจจุบันพวกเค้าก็ยังรักษา และยึดถืออยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง เช่น
    1.ประเพณีฉลองปีใหม่ งานฉลองปีใหม่ของม้ง หรือที่เรียกว่า “ น่อเป๊โจ่วซ์” ซึ่งแปลว่ากินสามสิบ 
ชาวม้งหรือม้งจะถือเอาวันสุดท้ายคือ ๓๐ ค่ำ ของเดือน ๑๒ ในทุกปีเป็นวันส่งท้ายปีเก่า
 ( ปฏิทินของไทยจะนับแบ่งเป็น ๒ ช่วง ข้างขึ้นข้างแรม ช่วงละ ๑๕ วัน ตั้งแต่ ๑ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ 
แต่ของม้งนับจาก ๑ ค่ำไปถึง ๓๐ ค่ำเลย ) งานฉลองปีใหม่จะอยู่ในราวปลายเดือนพฤศจิกายน
 ถึง ธันวาคม ชาวม้งจะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ถัดจากวันส่งท้ายปีเก่าไปอีก ๓ วัน เป็นวันฉลองปีใหม่ 
ทุกคนจะหยุดทำงานใน ๓ วันแรก โดยชายหญิงทุกคนในหมู่บ้านจะได้สวมเสื้อผ้าชุดใหม่ 
โดยเฉพาะหนุ่มสาวจะแต่งตัวกันเต็มที่ประดับประดาเครื่องเงินสวยงาม เด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นลูกข่าง
 และร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน ในขณะเดียวกันหนุ่มสาวจะจับคู่กันโยนลูกช่วงโดย
ทั้งสองฝ่ายจะอยู่กันคนละแถว โดยรับลูกช่วงระหว่างคู่ของตนเอง ในการเล่นระหว่างหนุ่มสาว
ถ้าใครแพ้ ก็จะปรับเอาสิ่งของที่ติดตัวกันไป เช่น แหวน กำไลมือ ผ้าเช็ดหน้าพอพลบค่ำก็มา
ร้องเพลงแก้เกี้ยว และไถ่ของคืน เป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้มีเวลาพบปะพูดคุยกันร้องเพลง
โต้ตอบกันอย่างสนุกสนาน

    2.ประเพณีการเกิด หลังจากช่วยกันทำคลอดออกมาแล้ว หากเป็นชายจะนำรกไปฝังบริเวณเสาผีบ้าน ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษ หรือที่เรียกว่าเสายึดเหนี่ยววิญญาณบรรพบุรุษ หากเป็นหญิงก็จะนำรกไปฝัง
ไว้ใต้เตียงห้องนอนของพ่อแม่เด็ก สามวันจะทำพิธีเรียกขวัญและตั้งชื่อให้เด็ก แต่ทำอย่างง่าย ๆ 
เพราะถือว่ายังไม่เป็นคนโดยสมบูรณ์ โดยปรกติหญิงที่คลอดลูก จะต้องอยู่ไฟที่เตาไฟเล็กภายในบ้าน หลังคลอดแล้วจะต้องกินข้าวกับไก่หรือไข่เป็นเวลา ๓๐ วัน บ้านไหนที่มีการคลอดลูกจะมีเฉลว 
หรือกิ่งไม้สดปักไว้ที่ประตูบ้าน ซึ่งเป็นการบอกให้รู้ว่าบุคคลภายนอกห้ามเข้าหรือหากมีเรื่อง
จำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น ถอดรองเท้า ถอดหมวก ปลดถุงย่ามออกเสียก่อน เป็นต้น